การก่อตั้ง

     สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า สง.ก.ต.ช. เป็นส่วนราชการระดับกองบังคับการในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติงานขึ้นตรงต่อเลขานุการ ก.ต.ช.ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 โดยกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 ต่อมาได้มีการตรากฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ยกเลิกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2548 แต่ก็ยังคงให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และปรับการแบ่งส่วนราชการเป็น 5 ฝ่าย 

 

 

 อำนาจหน้าที่  

 

สง.ก.ต.ช.  มีบทบาทภารกิจที่สำคัญ ประการ คือ

      1) ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ก.ต.ช. โดยดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการประชุม ก.ต.ช. และ อ.ก.ต.ช.

      2) ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับ ก.ต.ช. โดยเป็นเจ้าหน้าที่ในการศึกษาและนำเสนอ ก.ต.ช. เพื่อการตัดสินใจกำหนดนโยบายการบริหารงานตำรวจและการดำเนินภารกิจตามที่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ต.ช.

      3) ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับ ก.ต.ช. ในการตรวจสอบติดตามและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ในการศึกษาและนำเสนอ ก.ต.ช.เพื่อการตัดสินใจกำหนดนโยบาย เกี่ยวกับการตรวจสอบ ติดตามและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนประสานงานสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ กรุงเทพมหานคร จังหวัด และสถานีตำรวจ (กต.ตร.กทม./ จังหวัด และ สน. / สภ.) 

 

 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ

สง.ก.ต.ช.  แบ่งส่วนราชการ 5 ฝ่าย(เทียบกองกำกับการ)

 

 อัตรากำลังพลของ สง.ก.ต.ช. มีดังนี้
 
 ฝ่าย/ตำแหน่ง  ผู้บังคับการ

รองผู้บังคับการ

 ผู้กำกับการ รองผู้กำกับการ  สารวัตร รองสารวัตร ผู้บังคับหมู่ รวม

สำนักงาน
ผู้บังคับการ

 1  3  -  -  -  1  2

7

ฝ่ายอำนวยการ

 -  -  1  1  2  4  2 10

ฝ่ายการประชุม

 -  -  1  1  1  3 1 7

ฝ่ายนิติการ

 -  -  1  1  1  3  - 6
ฝ่ายนโยบายพัฒนาองค์กรและการบริหาร  -  -  1  1  2  2  - 6

ฝ่ายนโยบาย
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม 

 -  -  1  1  2  4  2 10

รวม 

 1  3  5  5 8  17  7 46

 

ความเกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ

(สง.กต.ตร.)

             เมื่อครั้งมี พ.ร.ฎ.โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2541 
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้วางระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ.2542 โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ (กต.ตร.) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร (กต.ตร.กทม.) และ คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจจังหวัด (กต.ตร.จังหวัด) เพื่อให้มีหน่วยงานปฏิบัติงานรองรับงานของ กต.ตร. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผบ.ตร. ในขณะนั้น จึงได้อนุมัติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2542 
ตั้งสำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (สง.กต.ตร.) เป็นหน่วยงานภายในระดับกองบังคับการขึ้นตรงต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 7/2542 เมื่อวันที่ 21 เมษายน
 
2542 กำหนดตำแหน่งระดับต่างๆ ให้กับ สง.กต.ตร. ต่อมาเมื่อมีการตรา พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ขึ้น
โดยได้กำหนดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในมาตรา
18(6) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับงานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ โดยมีผลให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ.2542 ทำให้คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ (กต.ตร.) ได้ถูกยกเลิกไป แต่โดยที่ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ ดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจ
แห่งชาติ (ก.ต.ช. ) ขึ้น ซึ่งจะต้องมีหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่รองรับ และเนื่องจาก สง.กต.ตร. ยังคงมีอยู่  เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติและบทบาทภารกิจของ กต.ตร. คล้ายคลึงกับ ก.ต.ช. ดังนั้น
ตร. จึงอนุมัติเมื่อวันที่ 
23 กุมภาพันธ์ 2547 ให้ สง.กต.ตร. มีหน้าที่รับผิดชอบปฏิบัติงานรองรับงานของ ก.ต.ช.ไปก่อน ต่อมาเมื่อมีกฎกระทรวงตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (สง.ก.ต.ช.) ขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 จึงได้ยุบเลิก สง.กต.ตร. และตัดโอนตำแหน่งทั้งหมดไปให้กับ สง.ก.ต.ช.